เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560 ทีมงาน Blockchain.Fish ได้มีโอกาสไปร่วมงานที่จัดขึ้นโดย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ Baker McKenzie บริษัทยักษ์ใหญ่ ในหัวข้อ “เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) : เทคโนโลยีใหม่เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์”
แต่ก่อนจะไปลงรายละเอียดงานกัน ทางทีมงานขอออกตัวก่อนว่าทีมงานมีพื้นเพทางด้าน Technical และในเนื้อหามีการพูดถึงเทคโนโลยีในหัวข้อแบบนักกฎหมาย ถ้าเนื้อความมีความผิดพลาดประการใดท่านผู้อ่านสามารถติชมหรือพูดคุยกันได้โดยสะดวกเลยนะครับผม…
โดยในวันนี้เราจะมาจับประเด็นที่ทางทีมงานคิดว่าน่าสนใจที่ได้จากงานมาพูดคุยกันนะครับ..
ภาพบรรยากาศงานครับ
คนเยอะมากๆ เต็มห้องเสริมเก้าอี้กันเลยทีเดียว เห็นได้ชัดว่านักกฎหมายไทยทันสมัยและเข้าใจเทคโนโลยีมากๆครับภายในงานมีการเชิญวิทยากร อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความเชี่ยวชาญจากทั้งฝ่ายกฎหมายและฝ่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่
- นายธีรพล สุวรรณประทีป
(ทนายความหุ้นส่วน กลุ่มกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด) - นางสาวกฤติยาณี บูรณตรีเวทย์
(ทนายความ กลุ่มกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด) - ดร. ภูมิ ภูมิรัตน
(ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย
และที่ปรึกษาอาวุโสของ บริษัท จีเอเบิล (G-ABLE) จำกัด) - ผู้ดำเนินรายการ: อาจารย์ ดร. กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์
(อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
มาถึงประเด็นที่น่าสนใจกัน
Bitcoin ถือเป็นเงินตราหรือว่าสังหาริมทรัพย์ ???
ภายในงานมีการถกกันอย่างเข้มข้นว่า Bitcoin ถือว่าเป็นเงินตรา หรือ สังหาริมทรัพย์ เพื่อจะได้ใช้กฎหมายตีความกันได้ถูก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่มีความชัดเจนมากว่าจะตีความเป็นอะไร แต่มีการยกตัวอย่างไปในอเมริกาที่รัฐ New York มีการตัดสินคดีว่า Bitcoin ถือเป็น เงินตรา และที่ EU ก้มีการตีความว่าเป็น เงินตราเช่นเดียวกัน ซึ่งในประเทศไทยของเรานั้นจะตีความเป็นอะไรก็ต้องคอยดูกันต่อไปครับ
ยกตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้งาน
ได้มีการยกตัวอย่างการนำ Blockchain ไปประยุกต์ใช้งานในวงการต่างๆ เป็นที่น่าสนใจมากๆ ครับ คือ
- ใช้เป็น Digital Currency
- ทำ Smart Contract
- Digital Management of Copyright/IP Assets
- Energy Trade
- Real Estate
- Insurance
- Health Record Management
- Accounting
Blockchain & Intellectual Property
ด้วยความสามารถในการที่สามารถบอกได้ว่าสิทธิในเรื่องต่างๆ ถูกโอนย้ายไปที่ใครแล้วของ Blockchain จึงสามารถทำให้นำ Intellectual Property ไปอยู่บน Blockchain ต่างๆ ได้และกำหนดให้ใช้เมื่อเวลาถ่ายโอนสิทธิความเป็นเจ้าของ หรืออยากตรวจสอบสิทธิ ให้ใช้ความสามารถในเรื่องการถ่ายโอน (Transfer) ของ Blockchain ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่า Intellectual Property นั้นๆเป็นของใคร หรือใครมีสิทธิในการได้รับผลประโยชน์
Blockchain กับโฉนดที่ดิน
โฉนดที่ดินก็ถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่งในชีวิตของเรา และจะเป็นอย่างไรหากนำ ข้อมูลโฉนดที่ดินต่างๆ ขึ้นไปบน Blockchain และสามารถถ่ายโอนไปให้ใครก็ได้และมีหลักฐานที่ง่ายต่อการติดตามอยู่ใน Blockchain
ยังมีประเด็นดีๆ อีกมากมาย
ยังมีประเด็นคำถามที่น่าสนใจมากมายในทางกฎหมายครับ เช่นว่า สัญญาเกิดขึ้นเมื่อไรยกตัวอย่างในเรื่องของ Bitcoin ต้องมีการรอเวลาในการตรวจสอบการโอน Bitcoin ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในราว 15-20 นาที การส่ง Bitcoin จึงถือว่าสมบูรณ์ และอย่างนี้จะถือว่าสัญญาเกิดขึ้นและสมบูรณ์เมื่อไร
ส่วนภายในวันนี้ทางทีมงานขอลาไปด้วยบทสรุปประเด็นที่สำคัญเพียงเท่านี้ก่อนนะครับผม…ในโอกาสหน้าจะมาอัพเดตงานดีๆ ได้สาระเต็มอิ่มกันต่อไปครับ